กิจกรรม
- รายละเอียด
- หมวด: กิจกรรม
- ฮิต: 33
เนื่องด้วยวันที่ 18 ธันวาคม ของทุกปี ถือเป็นวัน “วันวันย้ายถิ่นสากล” (International Migrants Day) เป็นวันที่องค์การสหประชาชาติได้จัดทำอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติและครอบครัว ค.ศ. 1990 เพื่อให้แรงงานข้ามชาติในประเทศต่างๆ ได้รับการคุ้มครองสิทธิทั้งสิทธิมนุษยชนและสิทธิเป็นแรงงาน ด้วยหลักการที่จะให้ทุกประเทศและทุกฝ่ายตระหนักถึงสิทธิของแรงงานข้ามชาติที่ต้องอพยพจากประเทศต้นทางไปทำงานยังประเทศปลายทางให้ได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรมจากรัฐบาลและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติด้วยความแตกต่างเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา สีผิว และเพศสภาพใด ๆ
การอพยพเคลื่อนย้ายของแรงงานจากประเทศหนึ่ง ไปยังอีกประเทศหนึ่ง เพื่อทำงานเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นมานาน ทั่วโลก โดยได้มีการแบ่งสาเหตุของการเคลื่อนย้ายแรงงานไว้ 4 สาเหตุหลักด้วยกัน คือ
- หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แรงงานจากประเทศที่เศรษฐกิจต่ำกว่า ด้อยพัฒนากว่า จะย้ายตัวเองไปทำงานในประเทศที่มีเศรษฐกิจดีกว่า
- การเคลื่อนย้ายไปประเทศอื่น เพราะสงครามหรือความขัดแย้งภายในภายประเทศตัวเอง
- การถูกย้ายไปเป็นแรงงานในประเทศเจ้าอาณานิคมซึ่งเกิดขึ้นในสมัยยุคล่าอาณานิคม
- การอพยพเคลื่อนย้ายไปเป็นแรงงานในประเทศอื่น เพราะภัยธรรมชาติ หรือความขาดแคลนจากประเทศตนเอง และในช่วงปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ หรือ climate change ก็เป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้คนทั่วโลกต้องเคลื่อนย้ายออกจากถิ่นฐานของตัวเอง จากรายงานของ Oxfam ระบุว่า ทุกๆ ปีจะมีประชากรทั่วโลกว่า 20 ล้านคน ที่ต้องอพยพออกจากถิ่นฐานของตัวเอง เพราะปัญหา climate change ซึ่งคนกลุ่มนี้มีทั้งที่อยู่ในฐานะผู้ลี้ภัย และย้ายตัวเองไปตั้งรากฐานใช้ชีวิตทำงานในประเทศอื่น
ในประเทศไทย การย้ายถิ่นของแรงงานจากประเทศต่าง ๆ ที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยมีมานานโดยเฉพาะหลังทศวรรษ 2500 ประเทศไทยเริ่มปรับตัวเองสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรม ความต้องการแรงงานจึงทวีจำนวนมากยิ่งขึ้น รัฐบาลไทยจึงเริ่มมีนโยบายอนุญาตให้จ้างแรงงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเริ่มให้มีการจ้างแรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่าในพื้นที่จังหวัดชายแดนไทย-พม่า หลังจากนั้นจึงได้เปิดให้มีการจ้างแรงงานข้ามชาติเพิ่มขึ้นเป็น 4 สัญชาติ คือ พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ปัจจุบันมีตัวเลขการจ้างแรงงานข้ามชาติ 3 สัญชาติที่ถูกกฎหมายกว่า 2.5 ล้านคน โดยร้อยละ 80 ของแรงงานเหล่านี้เป็นแรงงานข้ามชาติจากพม่า ที่เหลืออีก 20 เปอร์เซ็นต์ คือ แรงงานจากกัมพูชา ลาว และเวียดนาม
ในโอกาสนี้ เครือข่ายแรงงานภาคเหนือ จึงได้จัดกิจกรรมรณณรงค์เนื่องในวันย้ายถิ่นสากลขึ้นในวันที่ 18 ธันวาคม 257 ณ พุทธสถาน จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีกิจกรรมการแสดงบนเวที ชมคลิปวีดีโอเรื่อง "หากวันหนึ่งไม่มีแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย" การแสดงจากมูลนิธิประกายแสง เวทีเสวนา เรื่อง "Mix Migration : คนย้ายถิ่นคือฅน" นิทรรศการจากเครือข่าย และการอ่านแถลงการณ์เนื่องในวันย้ายถิ่นสากล
Read More>>> https://www.mapfoundationcm.org/en/advocacy/public-statements/northern-labor-network-statement-december-18,-2024.html