MAP Foundation MAP Foundation

เลือกภาษาของคุณ

  • Thai (ภาษาไทย)
  • English (United Kingdom)
MAP Foundation MAP Foundation
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับมูลนิธิฯ
  • โครงการ
    • โครงการสิทธิแรงงาน (LRA)
    • โครงการสนับสนุนการเข้าถึงสิทธิอย่างทั่วถึง(RFA)
    • โครงการสุขภาพและการสร้างเสริมศักยภาพชุมชน (CHE)
    • โครงการสื่อ (MMM)
  • แมพเรดิโอ
  • การรณรงค์/นโยบาย
    • นโยบาย/รายงานประจำปี
    • สื่อสิ่งพิมพ์
      • ภาษาอังกฤษ
      • ภาษาไทย
      • ภาษาเมียนมาร์
      • ภาษาไทใหญ่
      • ภาษากะเหรี่ยง
    • แถลงการณ์/ข้อเรียกร้อง
    • กิจกรรม
    • ค้นหา
  • ติดต่อเรา
  • ทำงานกับเรา
รายละเอียด
หมวด: โครงการ
03.ต.ค.
ฮิต: 316

โครงการสุขภาพและการสร้างเสริมศักยภาพชุมชน (CHE)

โครงการสุขภาพและการเสริมสร้างศักยภาพชุมชน มุ่งให้แรงงานข้ามชาติและผู้อพยพมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์และมีความเป็นอยู่ ที่ดีทั้งทางร่างกาย จิตใจและสังคม ด้วยการสร้างเสริมศักยภาพให้ชุมชนผู้อพยพสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงทั้งต่อ ชีวิตตนเองและทัศนคติของสังคมในเรื่องเพศ ความสัมพันธ์ เอชไอวีเอดส์และ เพศสภาพ

เกี่ยวกับโครงการ

โครงการส่งเสริมการป้องกันเอดส์ในแรงงานข้ามชาติประเทศไทย (โครงการฟ้ามิตร-PHAMIT http://www.phamit.org/) เป็นโครงการที่ได้รับความร่วมมือจากกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนจำนวน  8 องค์กร รวมทั้งมูลนิธิแมพ  โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนโลกด้านเอดส์ วัณโรค และมาลาเรีย (GFATM) และได้รับความร่วมมือจากกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งองค์กรต่างๆในท้องถิ่นที่ให้บริการด้านสุขภาพและป้องกันการติดเชื้อ เอชไอวี  รวมทั้งเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานข้ามชาติ  ผู้ติดตามแรงงานฯ และแรงงานบริการทางเพศในประเทศไทย โครงการฟ้ามิตรมีเป้าหมายเพื่อการลดอัตราผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์รายใหม่ ของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยรวมทั้งเพื่อลดจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ ป่วยเอดส์ในประเทศลาว ประเทศกัมพูชา และประเทศพม่า มูลนิธิแมพได้ดำเนินโครงการฟ้ามิตรกับชุมชนแรงงานข้ามชาติไทใหญ่และลาหู่ใน จังหวัดเชียงใหม่รวมทั้ง กับชุมชนแรงงานข้ามชาติพม่าใน อ.แม่สอด จ.ตาก

ในช่วงปี พ.ศ.2546-2551 (ค.ศ. 2003-2008)มูลนิธิแมพได้ดำเนินโครงการฟ้ามิตรเฟสแรก  และในปัจจุบันยังได้ดำเนินการต่อเนื่องกับโครงการฟ้ามิตรเฟสที่ 2 ซึ่งมีระยะเวลา 5 ปี โดยในเฟสแรกนั้นแมพได้มุ่งการทำงานไปที่การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการ สร้างความเข้าใจเรื่องมิติความสัมพันธ์หญิงชายที่มีผลต่อสถานการณ์เอชไอวี เอดส์ ในชุมชนโดยผ่านกิจกรรมลงพื้นที่  ต่อมาในเฟสที่ 2 นี้ได้มุ่งไปที่การให้การสนับสนุนผู้ติดเชื้อเอชไอวี ให้สามารถเข้ารับบริการจากโรงพยาบาล รวมทั้งการฝึกอบรมเรื่องการดูแลตนเองกับการดูแลผู้ติดเชื้อที่บ้าน  และการเข้าถึงยาต้านไวรัส  ทั้งนี้ทางโครงการฯ หวังว่าจะสามารถทำให้เกิดความร่วมมือกันระหว่าง นายจ้าง  กับหน่วยงานให้บริการทางสุขภาพและ ผู้นำชุมชนแรงงานข้ามชาติมากยิ่งขึ้น

มูลนิธิแมพได้จัดกิจกรรมต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นการจัดอบรมและการจัดให้มีอาสามัครให้ความรู้ในชุมชนที่สามารถ ไปเยี่ยมแรงงานข้ามชาติตามสถานที่ทำงานซึ่งกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปแล้วรวม กลุ่มแต่ละพื้นที่เพื่อประสานการทำงานร่วมกัน และแจกถุงยางอนามัย โดยอาสาสมัครเหล่านี้ในชุมชนจะให้คำปรึกษา, ส่งต่อผู้ป่วยและติดต่อประสานงานให้ผู้ติดเชื้อสามารถได้รับยาต้านไวรัสจาก องค์กรสาธารณะสุขของรัฐบาล  นอกเหนือจากนั้นทางโครงการสุขภาพและการสร้างเสริมศักยภาพชุมชนยังได้ร่วม กับโครงการสื่อของมูลนิธิฯในการผลิตสื่อเพื่อเผยแพร่เรื่อง สุขภาพอนามัยเจริญพันธุ์  และสุขภาพอนามัยเจริญพันธุ์วัยรุ่น, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, สุขภาพผู้หญิง, การวางแผนครอบครัว, มาลาเรีย, วัณโรค และสุขอนามัย ในภาษาพม่า กะเหรี่ยง ไทใหญ่    และลาหู่ ซึ่งได้รับการเผยแพร่โดยการลงพื้นที่พบปะชุมชนแรงงานข้ามชาติ  นอกจากนั้นมูลนิธิแมพยังได้ช่วยให้แรงงานข้ามชาติก่อตั้งศูนย์ข้อมูลประจำ ชุมชนขึ้นอีกด้วย  โดยนอกจากจะเป็นศูนย์รวมของแรงงานในชุมชนแล้ว  ยังใช้เป็นสถานที่สำหรับการเปิดสอนหนังสือ  การให้ความรู้พื้นฐานแก่เด็กๆลูกแรงงานข้ามชาติ  การฝึกอบรม  และการจัดกิจกรรมต่างๆ  ศูนย์ข้อมูลชุมชนถือว่าเป็นศูนย์กลางที่แรงงานสามารถใช้เป็นสถานที่พักผ่อน หย่อนใจ  อ่านหนังสือ  นั่งเล่นนอนเล่นรวมทั้งมาแลกเปลี่ยนข่าวสาร ต่างๆร่วมกัน  เรียกได้ว่าเป็นศูนย์กลางของทั้งสาระและความบันเทิง

กิจกรรมของโครงการ

โครงการกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน

 มูลนิธิแมพได้สนับสนุนให้เกิดกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนซึ่งเป็นพื้นที่ของแรง งานข้ามชาติที่ติดเชื้อเอชไอวีได้ประชุมประจำเดือนร่วมกัน ขณะนี้ได้มีกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนของแรงงานข้ามชาติชาวไทใหญ่และลาหู่ กิจกรรมของทางกลุ่มคือ การพบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้การใช้ชีวิตอยู่กับเชื้อเอชไอวีด้วยทัศนคติ ที่ดีรวมทั้ง อภิปรายหาแนวทางในการลดการถูกเลือกปฏิบัติและการดูหมิ่นต่อผู้ติดเชื้อใน ชุมชนของพวกเขาเอง รวมทั้งการทบทวนบทบาทของตนเองต่อความตระหนักและการป้องกันการติดเชื้อในราย ใหม่  ด้วยบรรยากาศของความอบอุ่น ไว้ใจ และเป็นกันเอง

 

เนื้อหาก่อนหน้า: โครงการสื่อ (MMM) ก่อนหน้า เนื้อหาถัดไป: โครงการสนับสนุนการเข้าถึงสิทธิอย่างทั่วถึง(RFA) ต่อไป
  • +66 53 328 134  
  •    map@mapfoundationcm.org
  • 9/34 Moo 1 Ing Doi Village Liab Klong Chonprathan Road, Chang Phueak Subdistrict, Mueang District, Chiang Mai 50300   THAILAND