- รายละเอียด
- หมวด: โครงการ
- ฮิต: 932
โครงการสิทธิแรงงาน (Labour Right for All : LRA)
เป็นโครงการหนึ่งภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิเพื่อสุขภาพและการเรียนรู้ของแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์ โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมสิทธิด้านแรงงานแก่แรงงานข้ามชาติในพื้นที่แม่สอด และ เชียงใหม่ โดยมีการทำงานใน 6 ด้านใหญ่ ๆ ดังนี้
- การให้ข้อมูลด้านสิทธิแรงงานแก่แรงงานข้ามชาติผ่านกิจกรรมการลงพื้นที่ ผ่านการจัดรายการวิทยุ และผ่านสื่อโซเชียลช่องทางต่าง ๆ
- การให้ความรู้ด้านสิทธิต่าง ๆ แก่คนงานผ่านการจัดกลุ่มศึกษา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการฝึกอบรมในประเด็นต่าง ๆ
- การส่งเสริมการรวมกลุ่มของแรงงานข้ามชาติ เพื่อสร้างอำนาจในการเจรจาต่อรองให้มีสภาพการจ้างงานที่ดีขึ้น
- การให้คำปรึกษาและช่วยเหลือทางด้านกฎหมายแก่แรงงานข้ามชาติที่ถูกละเมิดสิทธิด้านแรงงาน
- การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการสนับสนุน และช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติที่มีปัญหา
- การรณรงค์ผลักดันนโยบายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานข้ามชาติ เพื่อให้มีนโยบายที่เหมาะสมกับการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติในการกำหนดความคุ้มครองทางกฎหมายและมุ่งเน้นให้เกิดการเคารพสิทธิสมมนุษยชนต่อแรงงานข้ามชาติ
เกี่ยวกับโครงการ
แรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่าได้ประกอบอาชีพหลากหลายรูปแบบอยู่ทั่วทุกภูมิภาค ของประเทศไทย ทั้งแรงงานชายและหญิงต่างก็ทำงานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง, งานเกษตรในเรือกสวนไร่นา สวนผลไม้และสวนดอกไม้, งานเลี้ยงสัตว์, งานอุตสาหกรรมการผลิต และอุตสาหกรรมอาหาร นอกจากนั้นแรงงานหญิงยังทำงานเป็นคนทำงานบ้านและผู้ดูแลเด็ก คนชราและดูแลผู้ป่วยตามบ้านเรือน หรือเป็นพนักงานทำความสะอาดตามบริษัทหรือองค์กรต่างๆ ส่วนงานอุตสาหกรรมประมง โดยทั่วไปผู้ชายจะทำงานบนเรือประมง ในขณะที่ผู้หญิงจะทำงานคัดแยกและชำแหละปลารวมทั้งแกะกุ้งและสัตว์ประมงอื่นๆ
ตามพระราช บัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ.2541 (ค.ศ.1998) ได้ให้การคุ้มครองสิทธิแรงงานเบื้องต้นแก่แรงงานทั้งหมดในประเทศไทยและรวม ถึงแรงงานข้ามชาติ โดยไม่คำนึงถึงสถานภาพทางกฎหมาย การคุ้มครองฯดังกล่าวครอบคลุมถึง ค่าจ้างขั้นต่ำ, ค่าจ้างล่วงเวลา, ค่าแรงวันหยุด เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัตินั้นยังคงเป็นเรื่องท้าทายและคุกคามแรงงานข้ามชาติ โดยเฉพาะแรงงานผู้อพยพเข้ามาอย่างผิดกฎหมายที่ต้องการฟ้องร้องหรือดำเนินการ ให้ได้มาซึ่งความยุติธรรมเพราะการถูกละเมิดสิทธิแรงงาน หากแรงงานคนไหนที่ประสงค์จะนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ก็มักจะสูญเสียงานทำให้ขาดรายได้ นอกจากนั้นก็มีโอกาสถูกจับกุมและส่งกลับโดยตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ในทางปฏิบัติถึงแม้แรงงานข้ามชาติจะได้ทำการจดทะเบียนแรงงานแล้ว แต่หากทำการฟ้องร้องนายจ้างผู้เอารัดเอาเปรียบ ก็ทำให้แรงงานผู้ฟ้องร้องสูญเสียสถานภาพทางกฎหมายทันที และพวกเขาก็ไม่ได้รับความพึงพอใจจากความคุ้มครองที่ได้รับหลังจากนั้น ยิ่งไปกว่านั้นยังมีแรงงานอีกมากมายจากหลายภาคส่วนที่ยังไม่ได้รับการคุ้ม ครองจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นแรงงานทำงานบ้าน และอีกหลายอาชีพที่เป็นแรงงานนอกระบบ เช่นงานภาคเกษตรและประมง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานข้ามชาติ ทั้งนี้ แรงงานทำงานบ้านก็ยังไม่ได้รับการรับรองจากกฎหมายแรงงานว่า งานบ้านคืองาน และแรงงานทำงานบ้านส่วนใหญ่ก็ยังไม่ได้รับแม้วันหยุดเพียงสัปดาห์ละหนึ่งวัน
บท บัญญัติกฎหมายไทยเรื่องประกันสังคมและแรงงานสัมพันธ์ก็ไม่ได้ให้การคุ้มครอง แรงงานทั้งหมด ถึงแม้ความเป็นจริงคือ มีแรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่าทำงานที่เสี่ยงอันตรายอย่างมากในประเทศไทย เช่น งานก่อสร้าง งานเหมืองระเบิดหิน และงานประมง แต่ประเทศไทยก็ไม่อนุญาตให้แรงงานราคาถูกเหล่านี้และนายจ้าง เข้าสู่ระบบประกันสังคม นอกจากนั้นแรงงานข้ามชาติก็ไม่สามารถเข้าถึงกองทุนเงินทดแทนสำหรับกรณีได้ รับบาดเจ็บ,อุบัติเหตุหรือเสียชีวิตจากการทำงาน นอกจากนั้นแรงงานข้ามชาติยังไม่ได้รับอนุญาตให้รวมกลุ่มก่อตั้งสหภาพแรงงาน เพื่อสามารถมีสิทธิลงคะแนนเสียงคัดเลือกคณะกรรมการบริหารของสหภาพแรงงานไทย ถึงแม้แรงงานข้ามชาติจะสามารถเป็นสมาชิกสหภาพแรงานได้ แต่ก็มีเพียงร้อยละ3ของแรงงานไทย ดำเนินการบริหารสหภาพฯ นอกจากนั้นสหภาพแรงงานส่วนมากก็ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ อีกทั้งไม่ได้คำนึงและอำนวยความสะดวกเรื่องภาษาที่แตกต่างกันของสมาชิก
อย่าง ไรก็ตามถึง ถึงแม้จะยังมีความท้าทายต่อแรงงานข้ามชาติอยู่มากมาย แต่แรงงานข้ามชาติจำนวนมากก็ได้ประสบความสำเร็จต่อการฟ้องร้องกรณีถูกนาย จ้างเอารัดเอาเปรียบมาแล้ว โดยได้รับความช่วยเหลือจากโครงการสิทธิแรงงาน
กิจกรรมของโครงการ
โครงการย่อยต่างๆภายใต้โครงการสิทธิแรงาน
โครงการความยุติธรรมในสถานที่ทำงาน
โครงการความยุติธรรมในสถานที่ทำงานได้ทำงานกับแรงงานข้ามชาติผู้ที่ต้องการ แสวงหาความเป็นธรรมต่อการถูกละเมิดสิทธิแรงงาน ซึ่งทางโครงการฯได้อำนวยความสะดวกและให้ความช่วยเหลือต่างๆคือ ให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมาย, การแปลภาษา, การเป็นตัวแทนในการดำเนินการทางกฎหมาย นอกจากนั้นในกรณีที่แรงงานต้องการความปลอดภัยเป็นกรณีพิเศษเนื่อจากการถูก คุกคาม ทางโครงการฯก็ยังจัดหาบ้านพักฉุกเฉินให้อีกด้วย แมพได้สนับสนุนแรงงานข้ามชาติเป็นจำนวนหลายกรณีให้เรียกร้องการคุ้มครองและ ค่าชดเชยที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และการช่วยเตรียมการต่างๆก่อนนำเรื่องเข้าสู่ศาลแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นการคิดคำนวณเพื่อเรียกร้องค่าจ้างค้างจ่ายต่างๆทั้ง ค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับการทำงานในเวลาปกติ, ค่าทำงานล่วงเวลา, ค่าทำงานในวันหยุด รวมทั้งค่าชดเชยกรณีแรงงานที่ประสบอุบัติเหตุหรือเสียชีวิตจากการทำงาน โดยมูลนิธิแมพมีเจ้าหน้าที่เป็นทนายความผู้มีประสบการณ์จำนวน สองท่านที่ได้ทำงานร่วมกันกับเครือข่ายทนายความด้านสิทธิแรงงาน รวมทั้งได้ให้ความช่วยเหลือเป็นตัวแทนของแรงงานข้ามชาติในการดำเนินคดีต่างๆ โดยไม่คิดค่าตอบแทน
กรณีศึกษา : โรงงานผลิตเสื้อ บี บี ท็อป อ.แม่สอด
มูลนิธิแมพได้ทำการยื่นฟ้องคดีความจำนวน 2 คดีต่อนายจ้างของแรงงานข้ามชาติคือ โรงงานผลิตเสื้อบี บี ท็อป เพราะทางนายจ้างไม่จ่ายค่าแรงให้กับลูกจ้าง โดยทางมูลนิธิแมพได้เป็นตัวแทนแก่แรงงานฯจำนวน 178 คน สำหรับกรณีนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างและนายจ้างฝ่าฝืน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ทั้งนี้กรณีโรงงานบี บี ท็อปได้แยกเป็นกรณีย่อยอีก 2กรณีเพราะมีรายละเอียดคดีความไม่เหมือนกัน โดยในกรณีแรกมีลูกจ้างจำนวน 40 คน เป็นผู้ถูกนิยามโดยกฎหมายแรงงานว่า เป็น “ลูกจ้างทำของ”ทำให้ไม่สามารถได้รับการคุ้มครองแรงงานตามกฎหมายแรงงานและทาง สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานที่แรงานฯได้ยื่นเรื่อง ได้มีคำสั่งว่า แรงงงานกลุ่มนี้เป็นลูกจ้างทำของจึงไม่สามารถได้รับการคุ้มครองหรือไม่ สามารถขอรับค่าชดเชยเป็นค่าจ้างขั้นต่ำ ทั้งนี้โดยทั่วไป แรงงานมักจะได้รับการจ่ายค่าจ้างต่อการทำงานเป็น “รายชิ้น” อันอำนวยให้นายจ้างสามารถหลีกเลี่ยงที่จะปฏิบัติตามข้อบังคับภายใต้พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานได้โดยง่าย อย่างไรก็ตามแมพได้เป็นตัวแทนแรงงานข้ามชาติกรณีนี้ในการยื่นอุทธรณ์คำสั่ง ของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานดังกล่าวต่อศาลแรงงาน ซึ่งได้ส่งผลให้ศาลแรงงานมีคำพิพากษา ให้ยกเลิกคำสั่งของสำนักงานสวัสดิการฯ ต่อมาทางสำนักงานสวัสดิการฯก็ได้ยื่นฟ้องไปยังศาลอุทธรณ์เพื่ออุทธรณ์คำ พิพากษาของศาลแรงงาน แต่สุดท้ายศาลอุทธรณ์ก็ได้มีคำพิพากษาให้แรงงาน 40 คนนี้เป็นแรงงานตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน และสามารถเรียกร้องให้ได้รับการคุ้มครองค่าจ้างขั้นต่ำได้ ชัยชนะครั้งนี้ถือเป็นความสำเร็จที่สำคัญยิ่งของแรงงานข้ามชาติ เพราะเป็นการยืนยันและสร้างขวัญและกำลังใจต่อแรงงานข้ามชาติว่าพวกเขาสามารถ ได้รับการคุ้มครองสิทธิอย่างสมบูรณ์จากพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ในปัจจุบันแรงงานข้ามชาติของกรณี บี บี ท็อป ยังคงต่อสู่คดีในชั้นศาล เพื่อจะได้รับค่าชดเชยสำหรับค่าจ้างค้างจ่ายจากนายจ้าง เป็นเงินประมาณเกือบ 2,000,000 บาท
โครงการส่งเสริมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน(POSH)
เพื่อการส่งเสริมอาชีวอนามัยและความปลอดภันในสถานที่ทำงาน ทางโครงการฯได้จัดให้มีกิจกรรมการลงพื้นที่ประจำสัปดาห์ไปยังพื้นที่ใหม่ๆ ที่แรงงานพักอาศัยทำงาน เพื่อทำการฝึกอบรมให้ความรู้แก่อาสาสมัครตัวแทนแรงงานจากชุมชนแรงงานข้าม ชาติและหลังจากนั้นก็ได้จัดตั้งศูนย์ข้อมูลของชุมชนฯต่างๆขึ้น เราได้พยายามเผยแพร่ความรู้เรื่อง ประโยชน์ของการใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองต่างๆ, ความจำเป็นในการสร้างความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน รวมทั้งการสร้างเสริมศักยภาพแก่แรงงานให้มีความมั่นใจที่จะขอให้นายจ้างจัด สถานที่ทำงานและสภาพการทำงานให้มีความปลอดภัยอย่างได้มาตรฐาน รวมทั้งให้นายจ้างอำนวยความสะดวกให้ลูกจ้างสามารถเข้าถึงการคุ้มครองและการ ชดเชยต่างๆในกรณีที่ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุหรือเสียชีวิตจากการทำงาน นอกจากนั้นกิจกรรมของโครงการส่งเสริมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสถานที่ทำ งานยังรวมถึงการรณรงค์ให้แรงงานข้ามชาติสามารถเข้าถึงประกันสังคมอีกด้วย
นอกจากนั้นเพื่อการสร้างความตระหนักต่ออันตรายต่างๆ ที่มีอยู่ในสถานที่ทำงาน และเพื่อจะผลักดันให้เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยน รวมทั้งการปฏิบัติการต่างๆ แรงงานข้ามชาติได้แนะนำให้มูลนิธิแมพนำเสนอข้อมูลเรื่องอาชีวอนามัยและความ ปลอดภัยในสถานที่ทำงานในรูปแบบที่สนุก เข้าใจง่าย ต่อมาแมพก็ได้ตอบรับความต้องการนี้โดยการผลิตการ์ตูนแอนนิเมชั่นขึ้น โดยเรียกว่า “The POSH Worker” หรือ “คนทำงานอย่างปลอดภัยและมีอาชีวอนามัย” เพื่อจะนำเสนอไม่เพียงอันตรายในสถานที่ทำงานแต่ยังได้นำเสนอว่า แรงงานจะสามารถรวมกลุ่มกันเพื่อร่วมกันพัฒนาความปลอดภัยและอาชีวอนามัยใน สถานที่ทำงานได้อย่างไร คุณสามารถเข้าไปรับชมการ์ตูนที่น่าสนใจนี้ได้ที่ เว็บไซต์ยูทูป(YOUtube) หรือติดต่อมาที่มูลนิธิแมพเพื่อขอรับดีวีดีการ์ตูนนี้ได้ นอกจากนั้นทางมูลนิธิแมพยังได้จัดทำคู่มือการฝึกอบรมในเรื่องดังกล่าวขึ้น สำหรับองค์กรพัฒนาเอกชนและสำหรับกลุ่มแรงงานอีกด้วย ซึ่งจะมีการจัดทำในภาษาอังกฤษ ไทใหญ่และ พม่า
การรวมกลุ่มแรงงาน
การเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานและการรวมกลุ่มเพื่อเจรจราต่อรอง เป็นวิธีการสำหรับแรงงานในการประกาศสิทธิและแสวงหาการคุ้มครองสิทธิแรงงาน ดังนั้นโครงการสิทธิแรงงานโดยโครงการย่อยต่างๆ จึงได้ทำงานเพื่อสร้างความมั่นใจว่า อิสระภาพในการรวมตัวกันและการก่อตั้งกลุ่มของแรงงานข้ามชาติจะได้รับการยอม รับด้วยความเคารพ เพื่อจุดประสงค์ดังกล่าว ทางมูลนิธิแมพจึงได้จัดให้มีการประชุมแลกเปลี่ยนประจำเดือนของแรงงานจาก ชุมชนแรงงานข้ามชาติ เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ อีกทั้งพัฒนาทักษะ รวมทั้งร่วมกันหาวิธีการทางยุทธศาสตร์ในการจัดการกับอุปสรรคและความท้าทาย ต่างๆ แมพได้ให้การสนับสนุนกลุ่มของแรงงงานสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรงงานสามัคคี (WSA) ในจังหวัดเชียงใหม่และ กลุ่มยองชีอู ในอำเภอแม่สอดจังหวัดตาก(YCOWA) นอกจากนั้นยังสนับสนุนศูนย์ข้อมูลชุมชนแรงงานข้ามชาติในจังหวัดพังงา จำนวน 2ศูนย์อีกด้วย โดยให้การสนับสนุนด้านการบริหารจัดการและการวางยุทธศาสตร์ รวมทั้งการสร้างเสริมศักยภาพและ ช่วยพัฒนาความสามารถของชุมชนฯ ทั้งนี้แมพยังได้ส่งเสริมให้เกิดความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างกลุ่มแรงงาน ไทยและแรงงานข้ามชาติ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าประเด็นแรงงานข้ามชาติจะได้รับการนำเสนอด้วยการ พิจารณาอย่างเหมาะสม เพื่อเป้าหมายของเราคือเพื่อให้แรงงานข้ามชาติเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานและการ แก้ไขกฎหมายพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ให้แรงงานข้ามชาติสามารถก่อตั้ง สหภาพแรงงานของตนเองได้รวมทั้งสามารถเป็นสมาชิกของคณะกรรมการบริหารสหภาพแรง งาน
โครงการรณรงค์สิทธิแรงงานทำงานบ้าน
แรงงานทำงานบ้านได้เผชิญกับอุปสรรคอย่างหนักหน่วงในการทำงานไม่ว่าจะเป็น สภาพการทำงานที่โดดเดี่ยวในบ้านนายจ้าง การเลือกปฏิบัติทางเพศสภาพที่มีต่อแรงงานทำงานบ้านมาแต่โบราณ รวมทั้งความท้าทายที่จะเอาชนะความคิดความเข้าใจว่างานบ้านไม่ใช่งานซึ่งมีผล ให้กฎหมายไทยยังไม่ให้การยอมรับว่างานบ้านเป็นงาน ดังนั้นทางโครงการสิทธิแรงงานจึงจัดให้มีการรณรงค์ขึ้นมาเป็นพิเศษในนามของ แรงงานทำงานบ้านในการจัดกิจกรรมให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย การจัดการประชุมพบกลุ่มประจำเดือนของแรงงานทำงานบ้าน และร่วมกันจัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักให้แก่สาธารณะชนรวมทั้ง เพื่อการกดดันรัฐบาล นอกจากนั้นทางโครงการฯยังได้ร่วมมือกับองค์กรทั้งระดับภูมิภาคและระดับสากล ในการต่อสู้ร่วมกันของนานาชาติเพื่อให้สิทธิแรงงานของแรงงานทำงานบ้านได้รับ ความเคารพและเกิดการคุ้มครองจริง
ในการรณรงค์ครั้งล่าสุดของเรานั้น เป็นการใช้ไปรษณียบัตรเพื่อรวบรวมรายชื่อของแรงงานทำงานบ้านและผู้ที่สนับ สนุนสิทธิแรงงานทำงานบ้านซึ่งได้ลงลายมือชื่อในไปรษณียบัตร แล้วส่งไปยังกระทรวงแรงงานเพื่อเรียกร้องให้มีการออกกฎหมายคุ้มครองสิทธิแรง งานทำงานบ้าน ให้มีวันหยุดอย่างน้อย 1 วันต่อสัปดาห์โดยไม่ถูกหักค่าจ้าง