- รายละเอียด
- หมวด: โครงการ
- ฮิต: 773
โครงการสื่อ ให้การสนับสนุนทุกโครงการในการผลิตสื่อในภาษาของแรงงานข้ามชาติ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร นโยบาย กฏหมาย สิทธิและสุขภาพ ในรูปแบบของการกระจายเสียงวิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ เสียง วีดีโอ เว็บไซต์และโซเชียลมีเดีย
เกี่ยวกับโครงการ
โครงการ สื่อของมูลนิธิแมพผลิตสื่อเพื่อการรณรงค์ในภาษาแรงงานข้ามชาติ คือ พม่า ไทใหญ่ ด้วยจุดประสงค์เพื่อการเข้าถึงแรงงานข้ามชาติอย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้ง เพื่อสร้างเสริมศักยภาพแก่ชุมชนแรงงาน นอกจากโครงการสื่อจะผลิตสื่อต่างๆเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนแรงงาน ข้ามชาติแล้ว ก็ยังให้การสนับสนุนการทำงานของแต่ละโครงการภายใต้มูลนิธิฯ ในการผลิตสื่อเกี่ยวกับสิทธิแรงงาน สิทธิผู้หญิง สิทธิสุขภาพ สื่อที่ผลิตมีความหลากหลายทั้งโสตทัศนวัสดุและสิ่งพิมพ์ต่างๆ ให้คลอบคลุมทุกประเด็นสถานการณ์ที่แรงงานข้ามชาติต้องเผชิญ สื่อต่างๆของแมพได้รับการแจกจ่ายไปยังห้องสมุดและศูนย์ข้อมูลชุมชนแรงงาน เป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นแมพยังได้ผลิตสื่อในภาษาไทยและอังกฤษในโอกาสพิเศษเพื่อใช้ในการ รณรงค์และการเผยแพร่ความรู้ ยกตัวอย่างเช่น หนังสือเนื่องในวาระครบรอบ 10 ของมูลนิธิฯ และ รายงานการวิจัยเรื่องผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจต่อแรงงานข้ามชาติในพื้นที่ จังหวัดเชียงใหม่และอำเภอแม่สอดจังหวัดตาก
กิจกรรมของโครงการ
ตัวอย่างสื่อ
- ในเว็บไซต์ www.mapfoundationcm.org สามารถเข้าชมได้ ในเมนู " สื่อสิ่งพิมพ์ "
- เฟจ MIC SHAN เป็นเฟจที่เผยแพร่อินโฟกราฟิกส์ วีดีโอ ในภาษาไทใหญ่ โดยเป็นความรู้เกี่ยวกับสิทธิ ความรู้ทั่วไป สุขภาพ และอื่น ๆ
- เฟจ MIC BURMESE เป็นเฟจที่เผยแพร่อินโฟกราฟิกส์ วีดีโอ ในภาษาพม่า โดยเป็นความรู้เกี่ยวกับสิทธิ ความรู้ทั่วไป สุขภาพ และอื่น ๆ
- ดีวีดีการ์ตูนแอนนิเมชั่น “The POSH Worker” นำเสนออันตรายต่างๆในสถานที่ทำงาน และจะมีวิธีการป้องกันอันตรายเหล่านั้นได้อย่างไร รวมทั้งการรวมกลุ่มของแรงงานเพื่อร่วมกันเจรจาต่อรองกับนายจ้างให้ได้มาซึ่ง สภาพการทำงานที่ปลอดภัยและถูกสุขอนามัยอย่างมีมาตรฐาน การ์ตูนนี้ไม่ได้ใช้เสียงประกอบเป็นภาษาหนึ่งภาษาใดโดยเฉพาะดังนั้นจึง สามารถรับชมได้โดยผู้ชมทุกชาติทุกภาษา https://www.youtube.com/user/webmastermap/videos
- วีดีโอคาราโอเกะเพื่อการศึกษา เป็นหนึ่งในผลงานที่ได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ ชุดวีดิโอนี้ประกอบด้วยเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับคุณค่าของการศึกษา
นิตยสารสำหรับชีวิตประจำวัน(Knowledge for Daily Living Magazine) ฉบับตีพิมพ์ล่าสุดของนิตยสารเป็นเรื่องเกี่ยวกับ สุขภาพอนามัยเจริญพันธุ์, ภัยพิบัติธรรมชาติและ อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน ท่านสามารถติดตามฉบับตีพิมพ์ทั้งหมดได้ที่ (LINK) - สารคดี ในขณะนี้เรากำลังผลิตสารคดีสำหรับ “การเข้าถึงความยุติธรรม” และ “การเข้าถึงยาต้านไวรัส” โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติที่ใช้ความพยายามให้ได้มาซึ่งการคุ้ม ครองสิทธิแรงงานและการเข้าถึงระบบบริการด้านสุขภาพ
- “Why Burmese Migrants Need Union” หรือ “ทำไมแรงงานข้ามชาติพม่าจึงต้องการสหภาพแรงงาน”http://www.youtube.com/watch?v=qB1di5_8aOY&feature=channel_page. มูลนิธิแมพได้รับเลือกเป็นหนึ่งในผู้เข้าแข่งขันสารคดีความยาว 60 วินาที โดยสภาสหภาพแรงงาน(Trade Union Congress)เพื่อการสร้างสรรค์สื่อแสดงให้เห็นว่าสหภาพแรงงานมีผลดีต่อแรงงาน และสังคมโลกเช่นไร
โครงการวิทยุชุมชน(แมพเรดิโอ)
โครงการ วิทยุชุมชนของแมพ เป็นโครงการที่มุ่งเน้นการสร้างเสริมศักยภาพของชุมชนแรงงานข้ามชาติโดยการ ใช้วิทยุชุมชนเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงชุมชนฯ, เป็นสื่อเพื่อความบันเทิงเชิงวัฒนธรรม รวมทั้งเพื่อเผยแพร่ข้อมูล ตลอดจนเป็นพื้นที่แรงงานข้ามชาติในการแสดงความเป็นตัวของตัวเองและเพื่อการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
คลื่นวิทยุชุมชนของแมพประกอบด้วย คลื่นวิทยุ FM 99.0 MHz (เชียงใหม่) และ คลื่นวิทยุ FM 102.5 MHZ (แม่สอด)และสามารถรับฟังทางอินเตอร์เน็ตได้ที่ www.maprdio.org
สถานี วิทยุชุมชนมูลนิธิแมพเป็นองค์กรอิสระที่ดำเนินการด้วยความร่วมมือกับกลุ่ม แรงงานต่างๆ ในจังหวัดเชียงใหม่และ อ.แม่สอด จ.ตาก ด้วย วัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรายการที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพและความสร้างสรรค์เพื่อ ความบันเทิงและการรายงานข้อมูลอย่างทันสถานการณ์ในประเด็นที่เกี่ยวกับแรง งานข้ามชาติและเรื่องทั่วไป ในปัจจุบันสถานีวิทยุชุมชนแมพเรดิโอในจังหวัดเชียงใหม่ได้ทำการออกอากาศสด จำนวน 56 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ใน 3 ภาษาคือ ภาษาไทใหญ่ ภาษากะเหรี่ยง และภาษาไทย และสถานีวิทยุชุมชนแมพเรดิโอแม่สอดจะเริ่มทำการออกอากาศในภาษาพม่าและภาษา กะเหรี่ยงในอนาคตอันใกล้นี้ การออกอากาศของแมพเรดิโอครอบคลุมเนื้อหาหลากหลาย เช่น สิทธิแรงงานข้ามชาติ, อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน, การป้องกันเอชไอวีเอดส์, ผู้หญิง, แรงงาน, เยาวชน, สุขภาพรวมทั้งประเด็นทางสังคมวัฒนธรรมทั่วไป โดยผู้จัดรายการเป็นตัวแทนจากชุมชนแรงงานข้ามชาติและชุมชนชาติพันธุ์, องค์กรภาครัฐ, เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชน และเจ้าหน้าที่มูลนิธิแมพ
จาก ที่กระแสสื่อหลักในประเทศไทยได้ผลิตซ้ำภาพลบของแรงงานข้ามชาติและประชาชน ชาติพันธุ์ต่างๆ อีกทั้งนิยามว่าพวกเขาเป็นผู้ไร้การศึกษา เป็นอาชญากร เป็นเหยื่อ และผู้แพร่เชื้อโรค ดังนั้นแมพเรดิโอจึงเป็นพื้นที่ให้แรงงานข้ามชาติและกลุ่มชาติพันธุ์มีโอกาส นำเสนอภาพพจน์ด้านบวกของตนเอง เพื่อขจัดภาพลบที่สังคมสื่อทั่วไปได้สร้างไว้นอกจากนั้นแมพเรดิโอยังเป็น โอกาสให้แรงงานข้ามชาติได้ออกสิทธิ์ ออกเสียง แสดงความคิดเห็นของตน และเป็นพื้นที่ให้สาธารณะชนทั่วไปได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
- รายละเอียด
- หมวด: โครงการ
- ฮิต: 844
สร้างเสริมศักยภาพให้ชุมชนแรงงานข้ามชาติ สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงทั้งต่อชีวิตตนเอง และทัศนคติของสังคม ในเรื่องเพศ ความสัมพันธ์ เอชไอวีเอดส์ และ เพศสภาพ โดยมีพื้นที่ทำงาน 10 อำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ เมือง หางดง แม่ริม แม่แตง สารภี สันทราย สันกำแพง ฝาง ดอยสะเก็ด และเวียงแหง
โดยผ่านกิจกรรมหลัก ดังนี้
1.ให้ความรู้ คัดกรองวัณโรค, Mobile X-Ray
2.ให้ความรู้เรื่องเอชไอวี โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, Mobile VCCT
3.ส่งตรวจผู้ป่วยที่โรงพยาบาล (สคร., รพ.นครพิงค์, รพ.สารภี, รพ.หางดง, รพ.สันกำแพง, รพ.สันทราย, รพ.ดอยสะเก็ด ฯลฯ)
4.ประสานรพ. ที่เกี่ยวข้อง ติดตามการรักษา เยี่ยมบ้านผู้ป่วย
5.อบรมอาสาสมัครชุมชน เรื่องวัณโรค เอชไอวี โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ฯลฯ
6.แจกอุปกรณ์ป้องกัน เช่น ถุงยางอนามัย สารหล่อลื่น หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ ฯลฯ
7.สนับสนุนกิจกรรมกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี เช่น พบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในกลุ่ม ให้คำปรึกษาผู้ติดเชื้อรายใหม่ สร้างอาชีพเสริมหารายได้เข้ากลุ่ม ฯลฯ
8.สร้างเครือข่ายการทำงาน ทั้งหน่วยงานภาครัฐและองค์กรภาคประชาสังคม
ศูนย์สุขภาพแรงงาน (Drop-In Center : DIC)
ศูนย์สุขภาพแรงงาน (DIC) อยู่ภายใต้มูลนิธิแมพ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1.เพื่อเป็นพื้นที่ให้ข้อมูลแก่เรงงานข้ามชาติในเรื่องสุขภาพ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับโรคเอดส์-HIV โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์-STI วัณโรค-TB และโรคอื่น ๆ ตามสถานการณ์ปัจจุบัน
2.เพื่อเป็นพื้นที่ในการจัดกิจกรรม อบรม และเป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารและสถานการณ์ของกลุ่ม Hi
3.เพื่อเป็นพื้นที่ให้คำปรึกษาและช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่แรงงานข้ามชาติในการกรอกเอกสารภาษาพม่าสำหรับยื่นที่กงสุลเมียนมาร์
4.เพื่อเป็นพื้นที่จัดเก็บอุปกรณ์ป้องกันตัวเอง จากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ถุงยางอนามัย สารหล่อลื่น และหน้ากาอนามัย
- รายละเอียด
- หมวด: โครงการ
- ฮิต: 1453
โครงการสนับสนุนการเข้าถึงสิทธิอย่างทั่วถึง มุ่งเสริมสร้างศักยภาพให้แก่แรงงานข้ามชาติและผู้อพยพจากประเทศเมียนมาที่อยู่ในประเทศไทย ที่มักถูกมองข้ามหรือถูกตีตราไม่ว่าจะเป็นเด็ก เยาวชน และผู้หญิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงที่ต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตทั้งทางร่างกายและจิตใจ โครงการฯ สนับสนุนเด็ก เยาวชน และผู้หญิงให้เข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิเบื้องต้นและสร้างศักยภาพให้พวกเขาเข้าถึงสิทธิทางสุขภาพ การศึกษา และบริการต่างๆ ได้อย่างทั่วถึง โดยโครงการนี้จะทำงานในพื้นที่เชียงใหม่และแม่สอด
เกี่ยวกับโครงการ
ด้วยสาเหตุของสภาพการเมืองและเศรษฐกิจอันย่ำแย่ในประเทศเมียนมาทำให้ประชาชนเมียนมาจำนวนมากรวมทั้งครอบครัวต้องอพยพมายังประเทศไทย บางคนก็เลือกที่จะมาแสวงหาโอกาสที่ดีกว่าในชีวิต แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรที่ทำให้แรงงานข้ามชาติเดินทางมา พวกเขาต้องเผชิญกับอันตรายและความยากลำบากต่างๆ ในการดำรงชีวิตและเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานตามกฎหมาย พวกเขามีความเปราะบางในการถูกเลือกปฏิบัติ กีดกัน และเสี่ยงต่อการถูกล่วงละเมิด ผู้หญิงจำนวนมากจากประเทศเมียนมาถูกกระทำความรุนแรงในทุกขั้นตอนของการเคลื่อนย้าย ตั้งแต่อยู่ในประเทศเมียนมา ระหว่างการเดินทางอพยพมายังประเทศไทย ตลอดจนการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพอยู่ในประเทศไทยหรือการเดินทางกลับประเทศ กลุ่มเด็กและเยาวชนข้ามชาติมีอุปสรรคในการเข้าถึงสิทธิต่างๆ เนื่องจากนโยบายที่ไม่สอดคล้อง เช่น อายุการเข้าสู่ตลาดแรงงาน การเข้าถึงการศึกษา และเอกสารของพ่อแม่ เป็นต้น ครอบครัวมีความจำเป็นในการเข้าถึงบริการหรือเอกสารที่จำเพาะ เช่น สูติบัตร หรือวุฒิการศึกษา ดังนั้นทางโครงการสนับสนุนการเข้าถึงสิทธิอย่างทั่วถึงจึงเน้นการให้ข้อมูล การช่วยให้กลุ่มแรงงานข้ามชาติและผู้ติดตามเข้าถึงบริการและการอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมทั้งการเสริมพลังและสร้างศักยภาพให้กับกลุ่มเด็ก เยาวชน และผู้หญิง ตระหนักถึงสิทธิและสามารถปกป้องตนเองจากความรุนแรงทุกรูปแบบ
กิจกรรมของโครงการ
โครงการการประชุมแลกเปลี่ยนระหว่างผู้หญิง (WE)
โครงการการประชุมแลกเปลี่ยนระหว่างผู้หญิงเป็นเครือข่ายสำหรับเด็กหญิงและผู้หญิงที่ทำงานอยู่ตามชายแดนไทย-เมียนมา ที่จะได้มาพบปะกันเดือนละหนึ่งครั้งในแต่ละพื้นที่ และตัวแทนกลุ่มผู้หญิงจากพื้นที่ต่างๆ ได้มาพบปะกันทุกปีเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยจะมีประเด็นที่กำลังได้รับความสนใจ รวมทั้งหัวข้อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ การวางแผนครอบครัว ความรุนแรงต่อผู้หญิง และสิทธิผู้หญิง นอกจากนี้ยังมีการอบรมแกนนำผู้หญิงในชุมชนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพผู้หญิงอีกด้วย ซึ่งการจัดการประชุมพบกลุ่มแลกเปลี่ยนของผู้หญิงประจำเดือนเดิมทีนั้นได้ริเริ่มขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยเป็นรวมกลุ่มกันของผู้หญิงจากชาติพันธุ์ต่างๆ ได้มาพูดคุยบอกเล่าสถานการณ์และร่วมกันหาวิธีแก้ปัญหาร่วมกัน ต่อมาแนวคิดนี้แพร่หลายไปตามแนวชายแดน ทำให้ผู้หญิงอพยพและผู้ลี้ภัยได้เริ่มก่อตั้งกลุ่มของตนเองขึ้นมา โดยการประชุมแลกเปลี่ยนนี้ผู้หญิงได้ระบุว่าการใช้ความรุนแรงเป็นหนึ่งในความกังวลหลักของพวกเขา ต่อมาจึงได้มีการพัฒนาคู่มือกลไกอัตโนมัติในการสนับสนุนผู้เสียหายกรณีเกิดความรุนแรงต่อแรงงานข้ามชาติหญิง (ARM: Automatic Response Mechanism) เพื่อให้กลุ่มผู้หญิงได้ใช้เป็นแนวทางในการทำงานในพื้นที่ได้ด้วยตัวเอง
โครงการการศึกษาและเอกลักษณ์ประจำตัวบุคคล (EI)
โครงการการศึกษาและเอกลักษณ์ประจำตัวบุคคลมีพยายามที่จะปกป้องสิทธิของเด็กและเยาวชนข้ามชาติ โดยส่งเสริมให้ได้เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนไทยตามที่รัฐบาลไทยมีนโยบายการศึกษาสำหรับทุกคนหรือ “Education for All” โครงการมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนข้ามชาติผ่านโอกาสทางการศึกษาที่เพิ่มมากขึ้นและให้พวกเขามีสิทธิที่จะประกอบอาชีพตามทักษะความสามารถได้โดยเน้นทำงานร่วมกันกับผู้ปกครองและโรงเรียน นอกจากนี้โครงการยังมุ่งหนุนเสริม สร้างศักยภาพ และสนับสนุนเยาวชนข้ามชาติในการพัฒนาเครือข่ายและรณรงค์เกี่ยวกับสิทธิของตนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายต่อไป
โครงการเสริมสร้างศักยภาพเยาวชนข้ามชาติ (MYE)
โครงการเสริมสร้างศักยภาพเยาวชนข้ามชาติมุ่งเข้าถึงเด็กและเยาวชนข้ามชาติเพื่อให้ข้อมูลและเพื่อให้แน่ใจว่าเด็กและเยาวชนเหล่านี้ได้รับแจ้งเกี่ยวกับการเข้าถึงการศึกษา ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สิทธิทางเพศ อนามัยการเจริญพันธุ์ และการปกป้องจากการถูกล่วงละเมิดการเอารัดเอาเปรียบและความรุนแรงรูปแบบต่างๆ โดยโครงการมีการให้ข้อมูลผ่านลงพื้นที่ การอบรมเชิงปฏิบัติการในชุมชน และการบริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ เช่น การคุมกำเนิดและการวางแผนครอบครัว นอกจากนี้ทางโครงการยังมุ่งพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชนข้ามชาติให้สามารถกระจายข้อมูลและสร้างความตระหนักรู้ในชุมชนของตนเองต่อไปได้ผ่านเครื่องมือต่างๆ เช่น ทำคลิปวิดีโอและออกรายการวิทยุ
โครงการส่งเสริมการเข้าถึงบริการและความคุ้มครองของแรงงานหญิงข้ามชาติ (S&A)
โครงการส่งเสริมการเข้าถึงบริการและความคุ้มครองของแรงงานข้ามชาติหญิงมีเป้าหมายสำคัญเพื่อให้การย้ายถิ่นของแรงงานมีความปลอดภัยและยุติธรรมสำหรับผู้หญิงทุกคนในภูมิภาคอาเซียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้แรงงานหญิงข้ามชาติได้รับความคุ้มครองที่ดีขึ้นโดยการกำกับดูแลการย้ายถิ่นของแรงงานที่คำนึงถึงประเด็นเพศสภาพ และคุ้มครองแรงงานหญิงข้ามชาติให้ปราศจากความรุนแรงและการค้ามนุษย์ อีกทั้งได้รับบริการความช่วยเหลือที่มีคุณภาพ และส่งเสริมข้อมูลความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับสิทธิและคุณูปการของแรงงานหญิงข้ามชาติ โดยแรงงานหญิงข้ามชาติมีความเสี่ยงที่จะประสบกับความรุนแรง โดยเฉพาะความรุนแรงในครอบครัวและความมีรุนแรงทางเพศ ซึ่งพวกเขายังไม่สามารถเข้าถึงบริการและความคุ้มครองจากหน่วยงานต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากอุปสรรคทางด้านภาษา การขาดข้อมูลถึงสิทธิของผู้เสียหาย และการกีดกัน ทางโครงการฯ จึงได้ตระหนักถึงความสำคัญในการจัดทำข้อตกลงแนวปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองแก่แรงงานหญิงข้ามชาติที่ประสบความรุนแรงร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสามารถจัดบริการและความคุ้มครองที่ตอบสนองตามความต้องการเฉพาะด้านของแรงงานหญิงข้ามชาติ เช่น บริการล่าม การให้คำปรึกษา การส่งต่อเคส และการให้บริการด้านสุขภาพ
โครงการสนับสนุนยามวิกฤต
โครงการสนับสนุนยามวิกฤตภายใต้โครงการสนับสนุนการเข้าถึงสิทธิอย่างทั่วถึงให้การสนับสนุนแรงงานข้ามชาติเด็กและผู้หญิงที่ประสบความรุนแรงในครอบครัวและความรุนแรงทางเพศ โดยจะมีการให้บริการเบื้องต้น เช่น การให้ให้บริการล่าม ให้คำปรึกษา ประสานความช่วยเหลือกับเครือข่ายและหน่วยงานให้บริการด้านสุขภาพและกฎหมาย และให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน รวมทั้งการติดตามเยี่ยมเยียนเพื่อเสริมสร้างกำลังใจให้กับแรงงานเมื่อประสบกับสถานการณ์ยากลำบาก
- รายละเอียด
- หมวด: โครงการ
- ฮิต: 863
เป็นโครงการหนึ่งภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิเพื่อสุขภาพและการเรียนรู้ของแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์ โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมสิทธิด้านแรงงานแก่แรงงานข้ามชาติในพื้นที่แม่สอด และ เชียงใหม่ โดยมีการทำงานใน 6 ด้านใหญ่ ๆ ดังนี้
- การให้ข้อมูลด้านสิทธิแรงงานแก่แรงงานข้ามชาติผ่านกิจกรรมการลงพื้นที่ ผ่านการจัดรายการวิทยุ และผ่านสื่อโซเชียลช่องทางต่าง ๆ
- การให้ความรู้ด้านสิทธิต่าง ๆ แก่คนงานผ่านการจัดกลุ่มศึกษา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการฝึกอบรมในประเด็นต่าง ๆ
- การส่งเสริมการรวมกลุ่มของแรงงานข้ามชาติ เพื่อสร้างอำนาจในการเจรจาต่อรองให้มีสภาพการจ้างงานที่ดีขึ้น
- การให้คำปรึกษาและช่วยเหลือทางด้านกฎหมายแก่แรงงานข้ามชาติที่ถูกละเมิดสิทธิด้านแรงงาน
- การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการสนับสนุน และช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติที่มีปัญหา
- การรณรงค์ผลักดันนโยบายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานข้ามชาติ เพื่อให้มีนโยบายที่เหมาะสมกับการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติในการกำหนดความคุ้มครองทางกฎหมายและมุ่งเน้นให้เกิดการเคารพสิทธิสมมนุษยชนต่อแรงงานข้ามชาติ
เกี่ยวกับโครงการ
แรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่าได้ประกอบอาชีพหลากหลายรูปแบบอยู่ทั่วทุกภูมิภาค ของประเทศไทย ทั้งแรงงานชายและหญิงต่างก็ทำงานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง, งานเกษตรในเรือกสวนไร่นา สวนผลไม้และสวนดอกไม้, งานเลี้ยงสัตว์, งานอุตสาหกรรมการผลิต และอุตสาหกรรมอาหาร นอกจากนั้นแรงงานหญิงยังทำงานเป็นคนทำงานบ้านและผู้ดูแลเด็ก คนชราและดูแลผู้ป่วยตามบ้านเรือน หรือเป็นพนักงานทำความสะอาดตามบริษัทหรือองค์กรต่างๆ ส่วนงานอุตสาหกรรมประมง โดยทั่วไปผู้ชายจะทำงานบนเรือประมง ในขณะที่ผู้หญิงจะทำงานคัดแยกและชำแหละปลารวมทั้งแกะกุ้งและสัตว์ประมงอื่นๆ
ตามพระราช บัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ.2541 (ค.ศ.1998) ได้ให้การคุ้มครองสิทธิแรงงานเบื้องต้นแก่แรงงานทั้งหมดในประเทศไทยและรวม ถึงแรงงานข้ามชาติ โดยไม่คำนึงถึงสถานภาพทางกฎหมาย การคุ้มครองฯดังกล่าวครอบคลุมถึง ค่าจ้างขั้นต่ำ, ค่าจ้างล่วงเวลา, ค่าแรงวันหยุด เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัตินั้นยังคงเป็นเรื่องท้าทายและคุกคามแรงงานข้ามชาติ โดยเฉพาะแรงงานผู้อพยพเข้ามาอย่างผิดกฎหมายที่ต้องการฟ้องร้องหรือดำเนินการ ให้ได้มาซึ่งความยุติธรรมเพราะการถูกละเมิดสิทธิแรงงาน หากแรงงานคนไหนที่ประสงค์จะนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ก็มักจะสูญเสียงานทำให้ขาดรายได้ นอกจากนั้นก็มีโอกาสถูกจับกุมและส่งกลับโดยตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ในทางปฏิบัติถึงแม้แรงงานข้ามชาติจะได้ทำการจดทะเบียนแรงงานแล้ว แต่หากทำการฟ้องร้องนายจ้างผู้เอารัดเอาเปรียบ ก็ทำให้แรงงานผู้ฟ้องร้องสูญเสียสถานภาพทางกฎหมายทันที และพวกเขาก็ไม่ได้รับความพึงพอใจจากความคุ้มครองที่ได้รับหลังจากนั้น ยิ่งไปกว่านั้นยังมีแรงงานอีกมากมายจากหลายภาคส่วนที่ยังไม่ได้รับการคุ้ม ครองจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นแรงงานทำงานบ้าน และอีกหลายอาชีพที่เป็นแรงงานนอกระบบ เช่นงานภาคเกษตรและประมง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานข้ามชาติ ทั้งนี้ แรงงานทำงานบ้านก็ยังไม่ได้รับการรับรองจากกฎหมายแรงงานว่า งานบ้านคืองาน และแรงงานทำงานบ้านส่วนใหญ่ก็ยังไม่ได้รับแม้วันหยุดเพียงสัปดาห์ละหนึ่งวัน
บท บัญญัติกฎหมายไทยเรื่องประกันสังคมและแรงงานสัมพันธ์ก็ไม่ได้ให้การคุ้มครอง แรงงานทั้งหมด ถึงแม้ความเป็นจริงคือ มีแรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่าทำงานที่เสี่ยงอันตรายอย่างมากในประเทศไทย เช่น งานก่อสร้าง งานเหมืองระเบิดหิน และงานประมง แต่ประเทศไทยก็ไม่อนุญาตให้แรงงานราคาถูกเหล่านี้และนายจ้าง เข้าสู่ระบบประกันสังคม นอกจากนั้นแรงงานข้ามชาติก็ไม่สามารถเข้าถึงกองทุนเงินทดแทนสำหรับกรณีได้ รับบาดเจ็บ,อุบัติเหตุหรือเสียชีวิตจากการทำงาน นอกจากนั้นแรงงานข้ามชาติยังไม่ได้รับอนุญาตให้รวมกลุ่มก่อตั้งสหภาพแรงงาน เพื่อสามารถมีสิทธิลงคะแนนเสียงคัดเลือกคณะกรรมการบริหารของสหภาพแรงงานไทย ถึงแม้แรงงานข้ามชาติจะสามารถเป็นสมาชิกสหภาพแรงานได้ แต่ก็มีเพียงร้อยละ3ของแรงงานไทย ดำเนินการบริหารสหภาพฯ นอกจากนั้นสหภาพแรงงานส่วนมากก็ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ อีกทั้งไม่ได้คำนึงและอำนวยความสะดวกเรื่องภาษาที่แตกต่างกันของสมาชิก
อย่าง ไรก็ตามถึง ถึงแม้จะยังมีความท้าทายต่อแรงงานข้ามชาติอยู่มากมาย แต่แรงงานข้ามชาติจำนวนมากก็ได้ประสบความสำเร็จต่อการฟ้องร้องกรณีถูกนาย จ้างเอารัดเอาเปรียบมาแล้ว โดยได้รับความช่วยเหลือจากโครงการสิทธิแรงงาน
กิจกรรมของโครงการ
โครงการย่อยต่างๆภายใต้โครงการสิทธิแรงาน
โครงการความยุติธรรมในสถานที่ทำงาน
โครงการความยุติธรรมในสถานที่ทำงานได้ทำงานกับแรงงานข้ามชาติผู้ที่ต้องการ แสวงหาความเป็นธรรมต่อการถูกละเมิดสิทธิแรงงาน ซึ่งทางโครงการฯได้อำนวยความสะดวกและให้ความช่วยเหลือต่างๆคือ ให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมาย, การแปลภาษา, การเป็นตัวแทนในการดำเนินการทางกฎหมาย นอกจากนั้นในกรณีที่แรงงานต้องการความปลอดภัยเป็นกรณีพิเศษเนื่อจากการถูก คุกคาม ทางโครงการฯก็ยังจัดหาบ้านพักฉุกเฉินให้อีกด้วย แมพได้สนับสนุนแรงงานข้ามชาติเป็นจำนวนหลายกรณีให้เรียกร้องการคุ้มครองและ ค่าชดเชยที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และการช่วยเตรียมการต่างๆก่อนนำเรื่องเข้าสู่ศาลแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นการคิดคำนวณเพื่อเรียกร้องค่าจ้างค้างจ่ายต่างๆทั้ง ค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับการทำงานในเวลาปกติ, ค่าทำงานล่วงเวลา, ค่าทำงานในวันหยุด รวมทั้งค่าชดเชยกรณีแรงงานที่ประสบอุบัติเหตุหรือเสียชีวิตจากการทำงาน โดยมูลนิธิแมพมีเจ้าหน้าที่เป็นทนายความผู้มีประสบการณ์จำนวน สองท่านที่ได้ทำงานร่วมกันกับเครือข่ายทนายความด้านสิทธิแรงงาน รวมทั้งได้ให้ความช่วยเหลือเป็นตัวแทนของแรงงานข้ามชาติในการดำเนินคดีต่างๆ โดยไม่คิดค่าตอบแทน
กรณีศึกษา : โรงงานผลิตเสื้อ บี บี ท็อป อ.แม่สอด
มูลนิธิแมพได้ทำการยื่นฟ้องคดีความจำนวน 2 คดีต่อนายจ้างของแรงงานข้ามชาติคือ โรงงานผลิตเสื้อบี บี ท็อป เพราะทางนายจ้างไม่จ่ายค่าแรงให้กับลูกจ้าง โดยทางมูลนิธิแมพได้เป็นตัวแทนแก่แรงงานฯจำนวน 178 คน สำหรับกรณีนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างและนายจ้างฝ่าฝืน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ทั้งนี้กรณีโรงงานบี บี ท็อปได้แยกเป็นกรณีย่อยอีก 2กรณีเพราะมีรายละเอียดคดีความไม่เหมือนกัน โดยในกรณีแรกมีลูกจ้างจำนวน 40 คน เป็นผู้ถูกนิยามโดยกฎหมายแรงงานว่า เป็น “ลูกจ้างทำของ”ทำให้ไม่สามารถได้รับการคุ้มครองแรงงานตามกฎหมายแรงงานและทาง สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานที่แรงานฯได้ยื่นเรื่อง ได้มีคำสั่งว่า แรงงงานกลุ่มนี้เป็นลูกจ้างทำของจึงไม่สามารถได้รับการคุ้มครองหรือไม่ สามารถขอรับค่าชดเชยเป็นค่าจ้างขั้นต่ำ ทั้งนี้โดยทั่วไป แรงงานมักจะได้รับการจ่ายค่าจ้างต่อการทำงานเป็น “รายชิ้น” อันอำนวยให้นายจ้างสามารถหลีกเลี่ยงที่จะปฏิบัติตามข้อบังคับภายใต้พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานได้โดยง่าย อย่างไรก็ตามแมพได้เป็นตัวแทนแรงงานข้ามชาติกรณีนี้ในการยื่นอุทธรณ์คำสั่ง ของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานดังกล่าวต่อศาลแรงงาน ซึ่งได้ส่งผลให้ศาลแรงงานมีคำพิพากษา ให้ยกเลิกคำสั่งของสำนักงานสวัสดิการฯ ต่อมาทางสำนักงานสวัสดิการฯก็ได้ยื่นฟ้องไปยังศาลอุทธรณ์เพื่ออุทธรณ์คำ พิพากษาของศาลแรงงาน แต่สุดท้ายศาลอุทธรณ์ก็ได้มีคำพิพากษาให้แรงงาน 40 คนนี้เป็นแรงงานตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน และสามารถเรียกร้องให้ได้รับการคุ้มครองค่าจ้างขั้นต่ำได้ ชัยชนะครั้งนี้ถือเป็นความสำเร็จที่สำคัญยิ่งของแรงงานข้ามชาติ เพราะเป็นการยืนยันและสร้างขวัญและกำลังใจต่อแรงงานข้ามชาติว่าพวกเขาสามารถ ได้รับการคุ้มครองสิทธิอย่างสมบูรณ์จากพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ในปัจจุบันแรงงานข้ามชาติของกรณี บี บี ท็อป ยังคงต่อสู่คดีในชั้นศาล เพื่อจะได้รับค่าชดเชยสำหรับค่าจ้างค้างจ่ายจากนายจ้าง เป็นเงินประมาณเกือบ 2,000,000 บาท
โครงการส่งเสริมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน(POSH)
เพื่อการส่งเสริมอาชีวอนามัยและความปลอดภันในสถานที่ทำงาน ทางโครงการฯได้จัดให้มีกิจกรรมการลงพื้นที่ประจำสัปดาห์ไปยังพื้นที่ใหม่ๆ ที่แรงงานพักอาศัยทำงาน เพื่อทำการฝึกอบรมให้ความรู้แก่อาสาสมัครตัวแทนแรงงานจากชุมชนแรงงานข้าม ชาติและหลังจากนั้นก็ได้จัดตั้งศูนย์ข้อมูลของชุมชนฯต่างๆขึ้น เราได้พยายามเผยแพร่ความรู้เรื่อง ประโยชน์ของการใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองต่างๆ, ความจำเป็นในการสร้างความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน รวมทั้งการสร้างเสริมศักยภาพแก่แรงงานให้มีความมั่นใจที่จะขอให้นายจ้างจัด สถานที่ทำงานและสภาพการทำงานให้มีความปลอดภัยอย่างได้มาตรฐาน รวมทั้งให้นายจ้างอำนวยความสะดวกให้ลูกจ้างสามารถเข้าถึงการคุ้มครองและการ ชดเชยต่างๆในกรณีที่ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุหรือเสียชีวิตจากการทำงาน นอกจากนั้นกิจกรรมของโครงการส่งเสริมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสถานที่ทำ งานยังรวมถึงการรณรงค์ให้แรงงานข้ามชาติสามารถเข้าถึงประกันสังคมอีกด้วย
นอกจากนั้นเพื่อการสร้างความตระหนักต่ออันตรายต่างๆ ที่มีอยู่ในสถานที่ทำงาน และเพื่อจะผลักดันให้เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยน รวมทั้งการปฏิบัติการต่างๆ แรงงานข้ามชาติได้แนะนำให้มูลนิธิแมพนำเสนอข้อมูลเรื่องอาชีวอนามัยและความ ปลอดภัยในสถานที่ทำงานในรูปแบบที่สนุก เข้าใจง่าย ต่อมาแมพก็ได้ตอบรับความต้องการนี้โดยการผลิตการ์ตูนแอนนิเมชั่นขึ้น โดยเรียกว่า “The POSH Worker” หรือ “คนทำงานอย่างปลอดภัยและมีอาชีวอนามัย” เพื่อจะนำเสนอไม่เพียงอันตรายในสถานที่ทำงานแต่ยังได้นำเสนอว่า แรงงานจะสามารถรวมกลุ่มกันเพื่อร่วมกันพัฒนาความปลอดภัยและอาชีวอนามัยใน สถานที่ทำงานได้อย่างไร คุณสามารถเข้าไปรับชมการ์ตูนที่น่าสนใจนี้ได้ที่ เว็บไซต์ยูทูป(YOUtube) หรือติดต่อมาที่มูลนิธิแมพเพื่อขอรับดีวีดีการ์ตูนนี้ได้ นอกจากนั้นทางมูลนิธิแมพยังได้จัดทำคู่มือการฝึกอบรมในเรื่องดังกล่าวขึ้น สำหรับองค์กรพัฒนาเอกชนและสำหรับกลุ่มแรงงานอีกด้วย ซึ่งจะมีการจัดทำในภาษาอังกฤษ ไทใหญ่และ พม่า
การรวมกลุ่มแรงงาน
การเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานและการรวมกลุ่มเพื่อเจรจราต่อรอง เป็นวิธีการสำหรับแรงงานในการประกาศสิทธิและแสวงหาการคุ้มครองสิทธิแรงงาน ดังนั้นโครงการสิทธิแรงงานโดยโครงการย่อยต่างๆ จึงได้ทำงานเพื่อสร้างความมั่นใจว่า อิสระภาพในการรวมตัวกันและการก่อตั้งกลุ่มของแรงงานข้ามชาติจะได้รับการยอม รับด้วยความเคารพ เพื่อจุดประสงค์ดังกล่าว ทางมูลนิธิแมพจึงได้จัดให้มีการประชุมแลกเปลี่ยนประจำเดือนของแรงงานจาก ชุมชนแรงงานข้ามชาติ เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ อีกทั้งพัฒนาทักษะ รวมทั้งร่วมกันหาวิธีการทางยุทธศาสตร์ในการจัดการกับอุปสรรคและความท้าทาย ต่างๆ แมพได้ให้การสนับสนุนกลุ่มของแรงงงานสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรงงานสามัคคี (WSA) ในจังหวัดเชียงใหม่และ กลุ่มยองชีอู ในอำเภอแม่สอดจังหวัดตาก(YCOWA) นอกจากนั้นยังสนับสนุนศูนย์ข้อมูลชุมชนแรงงานข้ามชาติในจังหวัดพังงา จำนวน 2ศูนย์อีกด้วย โดยให้การสนับสนุนด้านการบริหารจัดการและการวางยุทธศาสตร์ รวมทั้งการสร้างเสริมศักยภาพและ ช่วยพัฒนาความสามารถของชุมชนฯ ทั้งนี้แมพยังได้ส่งเสริมให้เกิดความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างกลุ่มแรงงาน ไทยและแรงงานข้ามชาติ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าประเด็นแรงงานข้ามชาติจะได้รับการนำเสนอด้วยการ พิจารณาอย่างเหมาะสม เพื่อเป้าหมายของเราคือเพื่อให้แรงงานข้ามชาติเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานและการ แก้ไขกฎหมายพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ให้แรงงานข้ามชาติสามารถก่อตั้ง สหภาพแรงงานของตนเองได้รวมทั้งสามารถเป็นสมาชิกของคณะกรรมการบริหารสหภาพแรง งาน
โครงการรณรงค์สิทธิแรงงานทำงานบ้าน
แรงงานทำงานบ้านได้เผชิญกับอุปสรรคอย่างหนักหน่วงในการทำงานไม่ว่าจะเป็น สภาพการทำงานที่โดดเดี่ยวในบ้านนายจ้าง การเลือกปฏิบัติทางเพศสภาพที่มีต่อแรงงานทำงานบ้านมาแต่โบราณ รวมทั้งความท้าทายที่จะเอาชนะความคิดความเข้าใจว่างานบ้านไม่ใช่งานซึ่งมีผล ให้กฎหมายไทยยังไม่ให้การยอมรับว่างานบ้านเป็นงาน ดังนั้นทางโครงการสิทธิแรงงานจึงจัดให้มีการรณรงค์ขึ้นมาเป็นพิเศษในนามของ แรงงานทำงานบ้านในการจัดกิจกรรมให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย การจัดการประชุมพบกลุ่มประจำเดือนของแรงงานทำงานบ้าน และร่วมกันจัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักให้แก่สาธารณะชนรวมทั้ง เพื่อการกดดันรัฐบาล นอกจากนั้นทางโครงการฯยังได้ร่วมมือกับองค์กรทั้งระดับภูมิภาคและระดับสากล ในการต่อสู้ร่วมกันของนานาชาติเพื่อให้สิทธิแรงงานของแรงงานทำงานบ้านได้รับ ความเคารพและเกิดการคุ้มครองจริง
ในการรณรงค์ครั้งล่าสุดของเรานั้น เป็นการใช้ไปรษณียบัตรเพื่อรวบรวมรายชื่อของแรงงานทำงานบ้านและผู้ที่สนับ สนุนสิทธิแรงงานทำงานบ้านซึ่งได้ลงลายมือชื่อในไปรษณียบัตร แล้วส่งไปยังกระทรวงแรงงานเพื่อเรียกร้องให้มีการออกกฎหมายคุ้มครองสิทธิแรง งานทำงานบ้าน ให้มีวันหยุดอย่างน้อย 1 วันต่อสัปดาห์โดยไม่ถูกหักค่าจ้าง