- รายละเอียด
- หมวด: เกี่ยวกับมูลนิธิ
- ฮิต: 1415
มูลนิธิเพื่อสุขภาพและการเรียนรู้ของแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์ หรือมูลนิธิแมพ คือองค์กรพัฒนาเอกชน(NGO) ระดับท้องถิ่น ที่ทำงานเพื่อสร้างเสริมศักยภาพชุมชนแรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่าซึ่งอยู่ อาศัยและทำงานในประเทศไทย โดยผ่านวิธีการต่างๆ ดังต่อไปนี้
- อำนวยความสะดวกเพื่อการเข้าถึงการบริการทางสังคมและสุขภาพ
- ลงพื้นที่เพื่อทำกิจกรรมเผยแพร่ความรู้เรื่องสิทธิ, กฎหมาย รวมทั้ง นโยบายและประเด็นที่เกี่ยวข้องหรือมีผลกระทบต่อแรงงานข้ามชาติ
- จัดการอบรมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและการป้องกันโรค รวมถึงการให้คำปรึกษาเรื่องเอชไอวีเอดส์และ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- ส่งเสริมและสนับสนุนการรวมกลุ่มกันของแรงงานข้ามชาติรวมทั้งความพยายามในการปฏิสัมพันธ์กันทั้งในและระหว่างชุมชนแรงงานข้ามชาติ
- ให้คำปรึกษาด้านกฎหมายและเป็นตัวแทนแรงงานข้ามชาติในการเรียกร้องความยุติธรรม
- เสนอแนะแนวทางและรณรงค์ให้ได้มาซึ่งนโยบายที่คุ้มครองสิทธิของแรงงานข้ามชาติและผู้อพยพ
- ประสานงานกับภาคประชาสังคมไทยเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีต่อกันในบริบทของพหุวัฒนธรรม
แมพเป็นมูลนิธิที่จดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายโดยใช้ชื่อมูลนิธิว่า “มูลนิธิเพื่อสุขภาพและการเรียนรู้ของแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์”
วิสัยทัศน์
ชุมชนแรงงานข้ามชาติและกลุ่มชาติพันธุ์จากประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์(พม่า) เข้าถึงสิทธิและบริการอย่างทั่วถึง เท่าเทียม ไม่ถูกเลือกปฏิบัติเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
เป้าหมาย
มูลนิธิเพื่อสุขภาพและการเรียนรู้ของแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์ทำงานเพื่อ
• ให้ ชุมชนแรงงานข้ามชาติสามารถสร้างและเข้าถึงข้อมูลและการบริการต่างๆได้
• ขจัดการเอารัดเอาเปรียบการใช้แรงงานในทุกภาคส่วน ทุกอาชีพ
• พัฒนาชุมชนแรงงานข้ามชาติให้มีความเป็นอยู่ที่ดี ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจและสังคม
• เพิ่มการมีส่วนร่วมของแรงงานข้ามชาติในการรณรงค์ และกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งส่งเสริมศักยภาพในด้านต่าง ๆ ของชุมชนแรงงานข้ามชาติ
• สร้างพื้นที่ให้แรงงานข้ามชาติหญิงได้ใช้สิทธิ และเสริมสร้างศักยภาพของตนเอง
• รณรงค์ ผลักดันให้แรงงานข้ามชาติมีสิทธิจัดตั้งกลุ่มแรงงาน หรือ จัดตั้งสหภาพแรงงานได้
• ขจัดการเลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบ
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้นโยบายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานข้ามชาติ เป็นนโยบายที่สามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้จริง ตามหลักสิทธิมนุษยชน
- เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ชุมชนแรงงานข้ามชาติ ให้มีสภาพการทำงานและสภาพความเป็นอยู่ที่ดี
- เพื่อสร้างความเข้าใจอันดี ในเรื่องสถานการณ์แรงงานข้ามชาติในประเทศไทย และเพื่อลดการเลือกปฏิบัติ
หลักการและเหตุผล
กิจกรรมต่างๆของมูลนิธิฯ มีความหลากหลาย อีกทั้งพื้นที่ในการทำงานและประเด็นการทำงานอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ แต่อย่างไรก็ตาม งานทั้งหมดของมูลนิธิได้ดำเนินการตามหลักการต่อไปนี้
● แรงงานข้ามชาติต้องมีส่วนร่วมในการทำงานของมูลนิธิฯ
● สิทธิของมนุษย์ทุกคนต้องได้รับการเคารพอย่างเท่าเทียมกัน และมนุษย์ทุกคนควรมีพื้นที่และโอกาสในการใช้สิทธิ
● เคารพในความหลากหลายของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นด้านเชื้อชาติ ศาสนาหรือ เพศสภาพ
● ความเป็นธรรมทางสังคมเป็นของทุกคนไม่สามารถยกเว้นให้ใครได้
● ยอมรับว่างานทุกประเภทคืองานโดยไม่มีการยกย่องว่างานใดมีคุณค่ามากกว่างานใด และสำนึกว่าทุกคนที่ทำงานคือแรงงาน
● เตรียมพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับ อคติ รวมทั้งทัศนคติการเลือกปฏิบัติของเราเอง และต้องพยายามอย่างที่สุดที่จะเอาชนะสิ่งเหล่านี้
● ทุกคนต้องมีพื้นที่และโอกาสในการเติมเต็มศักยภาพของตน ในแบบที่แต่ละคนเลือกเอง และชุมชนควรมีพื้นที่และโอกาสในการกำหนดแผนงานของชุมชนเอง
● สภาพแวดล้อมการทำงานจะต้องเปิดกว้างและสนับสนุนให้มีการเปิดเผยเมื่อเกิดการคุกคาม โดยเฉพาะการคุกคามทางเพศ และจะลดการคุกคามทุกรูปแบบอย่างค่อยเป็นค่อยไป
● งานของเราต้องมีความสม่ำเสมอ มีความน่าเชื่อถือ ความน่าไว้วางใจ ความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้
● ต้องเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ชุมชนแรงงานข้ามชาติ
แมพเริ่มต้นอย่างไร
ใน ปีพ.ศ. 2539 (ค.ศ.1996) ได้มีแรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่าจำนวนกว่าพันคนเข้ามาทำงานในจังหวัด เชียงใหม่ ในงานก่อสร้างโรงแรม หมู่บ้านจัดสรร และโรงพยาบาลต่างๆในตัวเมือง ณ เวลานั้น แทบจะไม่มีการจัดสวัสดิการเพื่อแรงงานข้ามชาติเลย เมื่อแรงงานเหล่านี้พยายามที่จะเข้ารับการบริการด้านสุขภาพก็พบอุปสรรคทาง ด้านภาษา และค่าธรรมเนียมสูงเกินกว่าที่แรงงานฯจะสามารถจ่ายได้ ดัง นั้นกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติจึงได้ริเริ่มหา
แนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ด้วยการจัดอบรมกลุ่มแรงงานข้ามชาติให้สามารถแปลภาษาที่โรงพยาบาล รวม ทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้เรื่องการป้องกันโรคและการดูแลสุขภาพในชุมชนแรง งานฯต่อไป โดยในช่วงเริ่มต้นนี้ได้เน้นการทำงานกับชุมชนแรงงานก่อสร้างเป็นอันดับแรก ต่อ มามูลนิธิแมพได้มีความสัมพันธ์อันเหนี่ยวแน่นและได้รับความไว้วางใจจนกลาย เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนแรงงานข้ามชาติ ทำให้พบว่ามีปัญหาต่างๆ มากมายที่แรงงานข้ามชาติได้รับ มูลนิธิแมพจึงขยายขอบเขตการทำกิจกรรมต่างๆเพื่อจะได้สามารถร่วมแก้ปัญหาได้ อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ต่อ มามูลนิธิแมพได้เริ่มทำการออกอากาศในภาษาชาติพันธุ์สามภาษาคือ ภาษาพม่า กะเหรี่ยงและ ไทใหญ่ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยทุกวัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการเข้าถึงแรงงานข้ามชาติให้มากที่สุด รวมทั้งเพื่อการสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูลด้านสุขอนามัย ซึ่งในขณะนั้นมูลนิธิแมพยังเป็นที่รู้จักกันในนาม โครงการแมพ หรือโครงการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อพยพ (MAP: Migrant Assistance Programme) นอกจากนั้นแมพยังได้ก่อตั้งบ้านพักฉุกเฉินขึ้นสำหรับ ผู้อพยพที่ต้องการที่พักและการดูแลในภาวะวิกฤตอีกด้วย
ในปีพ.ศ.2545 (ค.ศ.2002 ) มูลนิธิแมพได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิภายใต้กฎหมายไทย โดยใช้ชื่อภาษาไทยว่า “มูลนิธิเพื่อสุขภาพและการเรียนรู้ของแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์” แต่ยังคงใช้ชื่อตามตัวอักษรย่อ MAP(แมพ)ซึ่งได้กลายเป็นชื่อที่ได้รับความคุ้นเคยสำหรับกลุ่มชุมชนแรงงานข้ามชาติ